วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

ฟลิกเกอร์
ฟลิกเกอร์เป็นเว็บไวต์สำหรับเก็บรูปภาพดิจิตอล โดยอัปโหลดจากผู้ใช้งาน โดยแบ่งปันให้คนอื่นใช้ด้วย
บริการฟลิกเกอร์เป็นที่นิมสำหรับผู้ใช้เขียนบล็อกเนื่องจากนำรูปจากฟลิกเกอร์มาใช้กับบล็อกโดยตรง
โดยเนื่องจากความสามารถในการแท็คเขียนคำอธิบายรูปและค้นหาตามชื่อที่เขียนโดยผู้ใช้งาน
นอกจากผู้ใช้จะสามารถอัปโหลดไฟล์ภาพจากเครื่องในคอมพิวเตอร์แล้ว ยังาสามารถอัปโหลดภาพโดย
ตรงจากมือถือ บางรุ่นขึ้น flickr ได้โดยตรงอีกด้วย

ประวัติ
ฟลิคเกอร์พัฒนาในบริษัท
ลูดิคอร์ป (Ludicorp) โดยแคเทอรินา เฟก (Caterina Fake) และ สจ๊วร์ต บัตเตอร์ฟิลด์ (Stewart Butterfield) โดยได้พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลโดยคำนึงถึงระดับของผู้ใช้งาน โดยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลเชื่อมถึงกันได้ในทุกส่วน ซึ่งเป็นจุดเด่นของฟลิคเกอร์ที่ทำให้ทางบริษัทยาฮู! สนใจพัฒนาเว็บจัดการภาพของตัวเองมีคุณภาพเทียบเท่า โดยทางยาฮู! ได้จ้างนักศึกษาปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) มาคิดค้นระบบจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 บริษัทยาฮู! ได้ซื้อฟลิคเกอร์ (ในขณะที่ยังเป็นรุ่นเบต้า) พร้อมทั้งบริษัทลูดิคอร์ป ในราคาประมาณ 2 พันล้านบาท (50 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ความสามารถ

แท็ก (tag) - ฟลิคเกอร์มีความสามารถแตกต่างจากเว็บไซต์โหลดภาพทั่วไปคือ กำหนดแท็ก เพื่อสามารถเชื่อมโยงภาพอื่นๆ ที่มีการกำหนดชื่อแท็กเดียวกัน ในอัลบั้มของผู้ใช้เอง หรืออัลบั้มของผู้อื่นที่ใช้ชื่อแท็กเดียวกัน
ออร์แกไนเซอร์ (Organizr) - จัดเก็บภาพไว้ในหมวดหมู่ต่างๆ รวมถึงการจัดภาพตามวันที่ การจัดภาพตามแท็ก หรือการจัดภาพตามเวลาที่ทำการถ่ายภาพ
โน้ต (note) - การเขียนข้อความไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความ เหนือภาพนั้นโดยเมื่อผู้ใช้เคลื่อน
เมาส์ มาภายในภาพ ข้อความที่กำหนดจะแสดงออกมา
ปฏิทิน (calendar) - การเรียกดูรูปตามวันที่ โดยสามารถเลือกตามวันที่ที่มีการ
อัปโหลด หรือวันที่ที่ทำการถ่ายภาพทั้งหมด
นอกจากนี้ความสามารถพื้นฐานเช่นการเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของภาพ รวมถึงการใส่ชื่อเพื่อนไว้ในรายชื่อเพื่อน เหมือนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ทั่วไป
บล็อก - เป็นการให้บริการล่าสุดของฟลิคเกอร์ บล็อกของฟลิคเกอร์
การกำหนดสัญญาอนุญาต
ฟลิคเกอร์สามารถให้ผู้ใช้กำหนด
สัญญาอนุญาตแบบต่างๆ ซึ่งรวมถึงสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ โดยความสามารถของแท็ก อนุญาตให้ผู้ใช้ค้นหาภาพภายใต้ลิขสิทธิ์ที่กำหนดได้
ตัวสะกด
การสะกดชื่อ Flickr แบบไม่มีตัว e ของฟลิคเกอร์ กลายเป็นความนิยมของเว็บในยุค
Web 2.0 ที่เว็บจะตั้งชื่อแบบตัดสระทิ้งหรือเติมตัวอักษรซ้ำเข้าไป เพื่อให้จดจำง่าย เช่นเว็บ Digg หรือ Tumblr
หมายเหตุ
ชื่อ "Flickr", "Organizr", และ "Uploadr" เป็นชื่อเฉพาะสะกดตามที่ใช้ในเว็บฟลิคเกอร์


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น