วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

ฟลิกเกอร์
ฟลิกเกอร์เป็นเว็บไวต์สำหรับเก็บรูปภาพดิจิตอล โดยอัปโหลดจากผู้ใช้งาน โดยแบ่งปันให้คนอื่นใช้ด้วย
บริการฟลิกเกอร์เป็นที่นิมสำหรับผู้ใช้เขียนบล็อกเนื่องจากนำรูปจากฟลิกเกอร์มาใช้กับบล็อกโดยตรง
โดยเนื่องจากความสามารถในการแท็คเขียนคำอธิบายรูปและค้นหาตามชื่อที่เขียนโดยผู้ใช้งาน
นอกจากผู้ใช้จะสามารถอัปโหลดไฟล์ภาพจากเครื่องในคอมพิวเตอร์แล้ว ยังาสามารถอัปโหลดภาพโดย
ตรงจากมือถือ บางรุ่นขึ้น flickr ได้โดยตรงอีกด้วย

ประวัติ
ฟลิคเกอร์พัฒนาในบริษัท
ลูดิคอร์ป (Ludicorp) โดยแคเทอรินา เฟก (Caterina Fake) และ สจ๊วร์ต บัตเตอร์ฟิลด์ (Stewart Butterfield) โดยได้พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลโดยคำนึงถึงระดับของผู้ใช้งาน โดยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลเชื่อมถึงกันได้ในทุกส่วน ซึ่งเป็นจุดเด่นของฟลิคเกอร์ที่ทำให้ทางบริษัทยาฮู! สนใจพัฒนาเว็บจัดการภาพของตัวเองมีคุณภาพเทียบเท่า โดยทางยาฮู! ได้จ้างนักศึกษาปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) มาคิดค้นระบบจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 บริษัทยาฮู! ได้ซื้อฟลิคเกอร์ (ในขณะที่ยังเป็นรุ่นเบต้า) พร้อมทั้งบริษัทลูดิคอร์ป ในราคาประมาณ 2 พันล้านบาท (50 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ความสามารถ

แท็ก (tag) - ฟลิคเกอร์มีความสามารถแตกต่างจากเว็บไซต์โหลดภาพทั่วไปคือ กำหนดแท็ก เพื่อสามารถเชื่อมโยงภาพอื่นๆ ที่มีการกำหนดชื่อแท็กเดียวกัน ในอัลบั้มของผู้ใช้เอง หรืออัลบั้มของผู้อื่นที่ใช้ชื่อแท็กเดียวกัน
ออร์แกไนเซอร์ (Organizr) - จัดเก็บภาพไว้ในหมวดหมู่ต่างๆ รวมถึงการจัดภาพตามวันที่ การจัดภาพตามแท็ก หรือการจัดภาพตามเวลาที่ทำการถ่ายภาพ
โน้ต (note) - การเขียนข้อความไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความ เหนือภาพนั้นโดยเมื่อผู้ใช้เคลื่อน
เมาส์ มาภายในภาพ ข้อความที่กำหนดจะแสดงออกมา
ปฏิทิน (calendar) - การเรียกดูรูปตามวันที่ โดยสามารถเลือกตามวันที่ที่มีการ
อัปโหลด หรือวันที่ที่ทำการถ่ายภาพทั้งหมด
นอกจากนี้ความสามารถพื้นฐานเช่นการเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของภาพ รวมถึงการใส่ชื่อเพื่อนไว้ในรายชื่อเพื่อน เหมือนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ทั่วไป
บล็อก - เป็นการให้บริการล่าสุดของฟลิคเกอร์ บล็อกของฟลิคเกอร์
การกำหนดสัญญาอนุญาต
ฟลิคเกอร์สามารถให้ผู้ใช้กำหนด
สัญญาอนุญาตแบบต่างๆ ซึ่งรวมถึงสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ โดยความสามารถของแท็ก อนุญาตให้ผู้ใช้ค้นหาภาพภายใต้ลิขสิทธิ์ที่กำหนดได้
ตัวสะกด
การสะกดชื่อ Flickr แบบไม่มีตัว e ของฟลิคเกอร์ กลายเป็นความนิยมของเว็บในยุค
Web 2.0 ที่เว็บจะตั้งชื่อแบบตัดสระทิ้งหรือเติมตัวอักษรซ้ำเข้าไป เพื่อให้จดจำง่าย เช่นเว็บ Digg หรือ Tumblr
หมายเหตุ
ชื่อ "Flickr", "Organizr", และ "Uploadr" เป็นชื่อเฉพาะสะกดตามที่ใช้ในเว็บฟลิคเกอร์


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


มาตรฐานรายวิชา



มาตรฐายนบล็อกนักศึกษา



ขอให้นักศึกษาสร้างบล็อก ตามมาตรฐานดังนี้นะคะ

1. ตั้งชื่อบล็อกโดยขึ้นต้นด้วย il- แล้วตามด้วยชื่อที่ต้องการ

2. ใส่ชื่อโปรเจ็กไว้ใน Blog Description

3. ใส่รูปภาพใน Profile เพืื่อง่ายต่อการจดจำ

4. ใส่ชื่อสมาชิก พร้อมสาขาวิชาและชั้นปีไว้ที่ Sidebar (เป็นรายการแรก)ุ

5. แจ้ง URL Blog นักศึกษา ที่ ุ6. แจ้ง URL Blog นักศึกษา ที่ http://nawasai77.tweetboard.com
6. ไม่เผยแพร่ถ้อยคำและภาพที่ไม่เหมาะสม

หัวข้อโปรเจ็ก

ส่งโปรเจ็กใหม่ค่ะอาจารย์
http://www.mediafire.com/file/ezz47uz4s8ohfw5/โปรเจ็กใหม่ค่ะ.doc

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

ไฮไฟฟ์

ประวัติ
ลามู ยาละมันชัย นักศึกษาปริญญาตรีชาวอเมริกัน ได้ร่วมกับเพื่อนๆ ใน
มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ที่เรียนปริญญาตรีทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ก่อตั้ง SponsorNet New Media ธุรกิจตัวแทนโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ในปี 2004 (ปี 2547) โดยยาละมันชัย ได้เห็นว่าระบบการโฆษณาผ่านแบนเนอร์แบบเก่าๆ ที่อาจไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการสร้างอัลบั้มรูปแล้วพูดคุยกัน การเกิดกลุ่มเพื่อนที่คอยอัปเดตข่าวแต่ละคนทางอินเทอร์เน็ต จึงได้เกิดเป็นเว็บไซต์ไฮไฟฟ์

รูปแบบ
ไฮไฟฟ์ เป็น
เว็บไซต์ประเภท Social Network หรืออาจเรียกในภาษาไทยว่า “เครือข่ายสังคม” หรือ “เครือข่ายมิตรภาพ” หรือ “กลุ่มสังคมออนไลน์” คือบริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลแต่ละคนที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเน็ตเวิร์คอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ อย่าง เมล์ เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีก็กลุ่มย่อยตามความสนใจร่วมกัน เช่น กลุ่มคนขี่จักรยานเสือภูเขา กลุ่มแฟนคลับเดธโน้ต เป็นต้น โดยคนที่ลงทะเบียนสมัครจะกรอกข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ อัลบั้มรูป โดยเชื่อมเครือข่ายสังคมและเครือข่ายมิตรภาพเข้าด้วยกัน ด้วยการแชร์รูป แชร์ไฟล์ดูกัน[3]
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเสริมอื่นๆ เช่น การฝัง
วิดีโอคลิป ฝังจอเล่นเพลง ฝังจอพิเศษที่นำรูปทั้งหมดของเรามาเล่นเรียงแบบฉายสไลด์ ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้เรียกว่า วิดเจ็ต (Widget) และยังเป็นฐานเปิดกว้างให้บริการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่าง เว็บรับฝากคลิปวิดีโอ ยูทูบ หรือ หรือเว็บรับฝากเพลง iMeem นอกจากนี้ยังมีจอพิเศษที่จะฉายอัลบั้มรูปเราแบบสไลด์ของ slide.com และมีเกมสั้นๆ ง่ายๆ สไตล์ Flash Game อีกชิ้นส่วนสำคัญคือหน้าจอ หรือที่เรียกว่า สกิน เป็นพื้นหลังแบ็กกราวนด์ ที่สามารถเลือกลวดลายและรูป ที่สามารถดาวน์โหลดได้ตามเว็บ และอีกลูกเล่นคือ กลิตเตอร์ (Glitter) การ์ตูนขยับหรือภาพ “ดุ๊กดิ๊ก” ที่ผู้ใช้สามารถคัดลอกโค้ดไปแปะในหน้าของตัวเองและส่งให้เพื่อนๆ กันอย่างแพร่หลาย
และหลังจากที่คู่แข่งอย่าง
เฟซบุ้ก เปิดโอกาสให้โปรแกรมเมอร์หรือใครก็ได้สร้างวิดเจ็ตขึ้นไปแปะบนหน้าเฟซบุ้กตัวเอง และแจกจ่ายให้แพร่หลายออกไปได้ ซึ่งไฮไฟฟ์เคยควบคุมไว้โดยตลอด แต่ต่อมา ไฮไฟฟ์ร่วมมือกับมายสเปซ ให้กูเกิ้ล ช่วยพัฒนาระบบชื่อ “Open Social” ซึ่งจะเป็นการเปิดกว้างให้มีวิดเจ็ตเช่นเดียวกับเฟซบุ้ก

ความนิยมและกลุ่มผู้ใช้
ไฮไฟฟ์ เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 37 ของอาบูดาบี ตามมาด้วย
มูเดิล และวินโดวส์ไลฟ์ (ข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ 2550[5]) และติดอันดับ 1 ใน 10 ในอีกกว่า 30 ประเทศ ไฮไฟฟ์กลุ่มของผู้ที่ใช้ภาษาสเปน เป็นหลักโดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ กลุ่มประเทศที่นิยมการใช้ไฮไฟฟ์ คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ เอกวาดอร์ ฮอนดูรัส รองลงมาคือ กัวเตมาลา เปรู ขณะเดียวกันรวมถึงประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น โปรตุเกส โรมาเนีย และประเทศไทยที่ปัจจุบันมีตัวเลขผู้เล่นไฮไฟฟ์ประมาณ 3 ล้านราย และมียอดผู้ใช้เป็นอันดับ 15 รองจากเม็กซิโก (ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2551)[6]
จากการสำรวจข้อมูลของคนไทยที่ใช้ไฮไฟฟ์ ในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่า ที่มีการเล่นมากที่สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 18-24 ปี เป็นสัดส่วนถึง 42.19% โดยสัดส่วนของ
ผู้หญิงและผู้ชายก็จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยที่สัดส่วนของผู้เล่นเพศหญิงจะมากกว่าเล็กน้อย[7]

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1(หัวข้อ20)

เฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊ก (
อังกฤษ: Facebook) เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมสำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสาร เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน
เว็บไซต์เฟซบุ๊กก่อตั้งที่เมือง
เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ แพโลแอลโท รัฐแคลิฟอร์เนีย มีผู้ลงทะเบียนกว่า 350 ล้านชื่อ และเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 รองจากกูเกิล[1]
ชื่อเฟซบุ๊กนี้มาจากชื่อเรียก "เฟซบุ๊ก" ที่มักจะเป็นหนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงเริ่มเรียนปีแรก ซึ่งมีภาพและชื่อของเพื่อนที่เรียนด้วยกันเพื่อไว้สำหรับจดจำชื่อคนอื่น
เดวิด ฟินเชอร์ ได้นำเนื้อหาในหนังสืิอที่เขียนถึงประวัติการก่อตั้งเฟซบุ๊ก สร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ
เดอะ โซเชียล เน็ตเวิร์ก นำแสดงโดยเจสซี ไอเซนเบิร์ก แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ และจัสติน ทิมเบอร์เลค โดยเควิน สเปซีย์ เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ กำหนดฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่งหัวข้อโปรเจ็คต์

สมุนไพรไทยก้าวไกลไปทั่วโลก